ประวัติปลากัดไทย
⇒ประวัติ ปลากัดไทย⇐
ปลากัด (Betta splendens Regan)เป็น ปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงมาตั้งแต่โบราณ เป็นเวลาหลายร้อยปี มาแล้ว ทั้งเพื่อไว้ดูเล่น และเพื่อกีฬากัดปลา และเป็นที่รู้จักกันดีในต่าง ประเทศมานานเช่นกัน ได้มีการนำปลากัดไปเลี้ยงในยุโรป ตั้งแต่พ.ศ. 2414 ได้ นำไปทำการเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง และเพาะได้สำเร็จที่ ประเทศ ผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2436 ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะพันธุ์กันแพร่ หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยง และเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่งประเทศไทยส่ง ปลากัดไปขายยังต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่าหลายล้านบาทปลากัดพันธุ์ดั้งเดิม ใน ธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบ และหางยาวกว่าเพศเมีย เล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมา นานทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสันสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่ สวยงามกว่าพันธุ์ดังเดิมมากและจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัด ออก ไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร ปลากัด พม่า เป็นต้น เนื่องจากปลากัดเป็นปลาขนาดเล็ก เจริญเติบโตดีในภาชนะแคบ ๆ และในการเลี้ยงไม่ต้องใช้ เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน ในน้ำ จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองในห้อง ปฏิบัติการครับ
การพัฒนาปลากัดหม้อเป็นปลากัดฮาล์ฟมูล
ปลากัดป่าปลา กัดป่า หรือ ปลาลูกทุ่ง ที่พบในธรรมชาติ ตามท้องนา หนองบึง ส่วนใหญ่จะเป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่เด่นมากนัก ในสภาพปกติสีอาจเป็นสีน้ำตาลเทาหม่น หรือสีเขียว และอาจมีแถบดำจาง ๆ พาดตามความยาวของลำตัว อาศัยหลบซ่อนตัวอยู่ระหว่างพรรณไม้น้ำในที่ตื้น ความพิเศษของปลากัด อยู่ที่ความเป็นนักสู่โดยธรรมชาติเมื่อพบปลาตัวอื่นจะเข้าต่อสู้กันทันที และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการที่ปลาตัวผู้สามารถเปลี่ยนสีให้งดงามเมื่อถูก กระตุ้น ในสภาวะตื่นตัวครีบทุกครีบจะแผ่กางออกเต็มที่ แผ่นเยื่อหุ้มเหงือขยายพองตัวออก พร้อมกับสีน้ำเงินหรือแดงที่ปรากฏขึ้นมาชัดเจนในโทน ต่าง ๆ ทำให้ดูสง่าอาจหาญ และสวยงาม ปลาป่าแท้นั้นส่วนมากครีบ หางและกระโดงที่ภาษานักแปลงปลาเรียกรวมว่า “เครื่อง” จะมีสีแดงเกือบตลอดมีประดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีเส้น เขียว ๆ แซมบ้าง อย่างที่เรียกว่าเขียวก็มีเพียงแต้มเขียวอ่อน ๆ ที่กระโดงเท่านั้น เวลาถอดสีปกติทั้งตัวและ เครื่องเป็นสีน้ำตาลจืด ๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ที่ห้อยแช่น้ำอยู่ ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ ปลากัดก็คือเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่อยู่บริเวณเหงือกทำให้ปลา สามารถใช้ออกซิเจน จากการฮุบอากาศได้โดยตรง ปลากัดจึงสามารถทนทานดำรงชีวิตอยู่ได้ในที่ที่มีออกซิเจนต่ำ ตำนานเล่าขานของปลากัดจึงค่อนข้างแปลกประหลาด ไปกว่าสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ บทความ “ธรรมชาติของปลากัดไทย) โดย ม.ล. ยิ่งศักดิ์ อิศรเสนา ที่เขียนไว้เมื่อปี 2496 ได้พูดถึงการขุดหา ปลากัดในรูปูนา ตามขอบหนอง ชายบึง ริมคู และรางน้ำ ซึ่งปลากัดเข้าไปอยู่อาศัยปน อยู่กับปูในรูตั้งแต่ต้นฤดูหนาว เมื่อน้ำเริ่มลดไป จนตลอดหน้าแล้งปูก็จะขุดรูลึก ตามระดับน้ำลงไปเรื่อย ๆ ปลากัดจะออกมาแพร่พันธุ์ใหม่ในต้นฝนในเดือนพฤษภาคม กระจายออกไปหากินตามที่มีหญ้ารก ๆ ในเขตน้ำตื้นปลากัด เป็นปลาที่ชอบน้ำตื้น จึงไม่พบตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึง ที่มีน้ำลึก อันที่จริงในธรรมชาติการต่อสู่กันของปลากัดไม่จริงจังเท่าไรนัก ส่วนมากมักแผ่พองครีบหางขู่กันเพื่อแย่งถิ่น บางตัวเห็นท่าไม่ดีก็อาจเลี่ยงไปโดยไม่ ต่อสู้กันเลยก็มี แต่บางคู่ก็ต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ปลาตัวผู้ตัวไหนที่ยึดชัยภูมิเหมาะได้ที่ ก็จะก่อหวอดไว้แล้วพองตัวเบ่งสี เกี้ยวตัวเมียที่ผ่านไปมา เพื่อผสมพันธุ์วางไข่
ปลากัดหม้อ
Bettar Fighting Fishปลา ลูกหม้อหรือปลาหม้อนั้นเป็นปลากัดที่ถูกนำมาคัดสายพันธ ุ์โดยนักพันธุศาสตร์สมัครเล่นชาวไทยที่มุ่งหวัง จะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่า ของนักเลงปลาเก่าอย่าง หลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบสุวรรณนคร) คาดว่า ปลาลูกหม้อน่าจะถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2430 ซึ่งท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้น ยังต้องจับปลาป่า มากัดพนันกันอยู่ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่ อาศัยอยู่ตามรูปูในหน้าแล้งมาขังไว้ในโอ่ง มาเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝนก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่เลี้ยงมาไม่ได้ การเล่นปลาขุดนี้ยังนิยมเล่นกันมาถึงประมาณ ปี 2496 หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรกจะเรียกว่า “ปลาสังกะสี” ซึ่งสัณนิษฐานว่าน่าจะได้ ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ถูกกัดขาดง่ายเหมือนปลาป่าและปลาขุด ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ สีสันลักษณะ ต่างจากปลาป่าและปลาขุด นักเลงปลาป่าจึงมักไม่ยอมกัดพนันด้วย จึงต้องกัดแข่งขันระหว่างปลาสังกะสีด้วยกันเอ ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงามก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมา ก็จะได้ปลาลักษณะรูปพรรณสีสันที่สวยงาม แปลกออกไปตามอัธยาศัยของผู้ผสมพร้อม ความเก่ง และอดทนในการกัดจะว่าไปแล้วพันธุศาสตร์สัตว์น้ำของเมืองไทย นับได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่ยุคนี้ คำว่า “ลูกหม้อ” นั้นมาจากการใช้หม้อดินในการเพาะและอนุบาลปลากัด ในระยะแรก ๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ ที่สร้างมาแท้ ๆ กับมือของนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้และให้มีสีสันที่สวยงามตามความพอใจ ของเจ้าของ ปลากัดลูกหม้อจึงมีรูปร่าง หนาใหญ่กว่าปลากัดชนิดอื่น สีสันสวยงามดูแล้วน่าเกรงขามกว่าพันธุ์อื่น ๆ สีส่วน มากจะเป็นสีน้ำเงิน แดง เทา เขียว คราม หรือแดงปนน้ำเงิน ใน การเล่นปลากัดในยุคก่อนนั้นปลาลูกหม้อจะมีสองประเภท “ลูกแท้” และ “ลูกสับ” ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ ่ที่มาจากครอกเดียวกัน และลูกสับหมายถึงลูกปลาที่เกิด จากพ่อแม่ที่มาจากคนละครอก ปลากัดลูกหม้อนี้ถ้าเอาไปผสมกลับกับปลาป่าลูกปลาก็จะ เรียกว่า “สังกะสี” เช่นเดียวกัน ซึ่งปลาสังกะสีซึ่งเกิดจากการผสมกลับแบบนี้ส่วนมากก็จะมีชั้นเชิงและน้ำอด น้ำทนในการกัดสู้ลูกหม้อไม่ได้ “ลูกหม้อ” จึง เป็นสุดยอดของปลากัดสำหรับนักเลงปลาทั้งหลาย ในระยะหลัง ๆ ก็อาจมีการพูดถึงสายพันธุ์ “มาเลย์” หรือ “สิงคโปร์” ซึ่งว่ากันว่ากัดเก่งหนังเหนียวแต่โดยแท้จริงก็คือปลาลูกหม้อ นั่นเอง เพียงแต่ว่าในระยะต่อมามีการประยุกต์ใช้กลวิธีการ หมักปลาด้วยสมุนไพร ใบไม้ ว่าน ดินจอมปลวก และอื่น ๆ เพื่อช่วยเคลือบเกล็ดปลา ที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกล็ดแข็งกัดเข้า ได้ยาก ควบคู่ไปกับการคัดเลือกพันธุ์ ถึงอย่างไร ลูกหม้อก็คือลูกหม้อที่เราชาวไทยพัฒนามาแต่โบราณแม้จะถูกนำไป พัฒนาสายพันธุ์ในที่อื่นก็ยังคงเป็นลูกหม้อไทยตัวเดิมนั่นเอง
ประเภทของปลากัด
ปลากัดป่าภาคกลาง และภาคเหนือ ปลากัดป่าภาคอีสาน ปลาสังกะสี ปลากัดหางสามเหลี่ยม ปลากัดหางมงกุฎ | ประเภทของปลากัด ปลากัดที่พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ในประเทศไทยมีอยู่ ๓ ชนิด แต่มีเพียงชนิดเดียว ที่นิยมเลี้ยงกันมากในประเทศไทย และแพร่หลายไปทั่วโลก คือ ปลากัดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ ปลากัดอีก ๒ ชนิดที่นิยมนำมากัดกัน แต่ไม่นิยมนำมาเลี้ยงหรือปรับปรุงพันธุ์นั้น ชนิดหนึ่งเป็นปลาพื้นเมืองภาคใต้ (Betta imbellis) และอีกชนิดหนึ่งเป็นปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน (Betta smaragdina) ในระยะหลัง ได้มีการนำปลาป่าพื้นเมืองภาคใต้มาผสมข้ามสายพันธุ์บ้าง เพื่อให้ได้ลูกผสมที่กัดเก่ง หรือให้ได้สีและลักษณะที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงปลากัด โดยทั่วไปจะหมายถึง Betta splendens ซึ่งนิยมเลี้ยงกันอยู่ทั่วโลก โดยที่ปลากัดชนิดนี้ มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่สามารถสร้างลักษณะสีและครีบได้มากมายแฝงอยู่ จึงทำให้มีการพัฒนาปลากัด สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ และมีการตั้งชื่อปลาที่พัฒนาได้ใหม่นั้นด้วย ๑. ปลาป่า หรือปลาลูกทุ่ง เป็นปลากัดที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตามท้องนา และหนองบึง เป็นปลาขนาดเล็กที่ไม่มีลักษณะเด่นมากนัก ส่วนมากครีบ และหาง มีสีแดงเกือบตลอด มีประสีดำบ้างเล็กน้อย บางทีอาจมีแต้มสีเขียวอ่อนๆ เรียงต่อกันเป็นเส้นสีเขียวๆ ที่ครีบหลัง เวลาถอดสี ทั้งตัวและครีบ จะเป็นสีน้ำตาลด้านๆ คล้ายใบหญ้าแห้ง ในปัจจุบันคำว่า "ปลาป่า" หมายความรวมถึงปลากัดพื้นเมืองภาคอีสาน และปลากัดพื้นเมืองภาคใต้ด้วย ๒. ปลาสังกะสี และปลาลูกหม้อ เป็นปลากัดที่นักเพาะพันธุ์ปลาได้นำมาคัดสายพันธุ์ โดยมุ่งหวังจะได้ปลาที่กัดเก่ง จากบันทึกคำบอกเล่าของหลวงอัมรินทร์สมบัติ (ครอบ สุวรรณนคร) ซึ่งเป็นนักเลงปลาเก่าเชื่อว่า ปลาสังกะสีและปลาลูกหม้อน่าจะได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยท่านจำได้ว่า ก่อนหน้านั้นยังต้องจับปลาป่ามากัดพนันกันอยู่ ต่อมานักเลงปลาบางคนก็เริ่มใช้วิธีไปขุดล้วงเอาปลาป่าที่อาศัยอยู่ตามรูปูในฤดูแล้ง มาขังไว้ในโอ่ง และเลี้ยงดูให้อาหาร พอถึงฤดูฝน ก็นำมากัดพนันกับปลาป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะสู้ปลาขุดที่นำมาเลี้ยงไว้ไม่ได้ การเล่นปลาขุดยังนิยมเล่นกันมา ถึงประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๖ หลังจากนั้นก็มีการเก็บปลาที่กัดเก่งเลี้ยงไว้ข้ามปี และหาปลาป่าตัวเมียมาผสม ลูกปลาที่ได้จากการผสมในชุดแรก เรียกว่า "ปลาสังกะสี" ปลาสังกะสีที่เก่ง อดทน สวยงาม ก็จะถูกคัดไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อผสมออกมาในชุดต่อไป จะได้ปลาที่เรียกว่า "ปลาลูกหม้อ" ที่เรียกว่า ปลาสังกะสี สันนิษฐานว่าน่าจะได้ชื่อมาจากผิวหนังที่หนาแกร่ง ไม่ขาดง่ายเมื่อถูกกัดเหมือนปลาป่า ปลาสังกะสีมักจะตัวใหญ่ มีสีสันลักษณะต่างจากปลาป่า แต่ส่วนมากมีชั้นเชิงและความอดทนในการกัดสู้ปลาลูกหม้อไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่า ปลาลูกหม้อ นั้น น่าจะมาจากการนำหม้อดินมาใช้ในการเพาะและอนุบาลปลากัดในระยะแรกๆ ปลาลูกหม้อจึงเป็นปลาสายพันธุ์ ที่สร้างมาโดยนักเลงปลาทั้งหลาย เพื่อให้ได้ลักษณะที่ดีสำหรับการต่อสู้ และมีสีสันที่สวยงามตามความพอใจของเจ้าของ ปลาลูกหม้อมีรูปร่างหนาใหญ่กว่าปลาป่าและปลาสังกะสี ส่วนมากสีจะเป็นสีน้ำเงิน สีแดง สีเทา สีเขียว สีคราม หรือสีแดงปนน้ำเงิน ครีบหางอาจเป็นรูปมนป้าน หรือรูปใบโพธิ์ การเล่นปลากัดในสมัยก่อนนั้น ปลาลูกหม้อแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทคือ "ลูกแท้" และ "ลูกสับ" ลูกแท้ หมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากครอกเดียวกัน ส่วนลูกสับหมายถึง ลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่ที่มาจากต่างครอกกัน ๓. ปลากัดจีน เป็นชื่อที่ใช้เรียกปลากัดครีบยาวมาช้านาน เข้าใจว่าอาจมาจากลักษณะครีบที่ยาวรุ่ยร่ายสีฉูดฉาดเหมือนงิ้วจีน ปลากัดจีน เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาลูกหม้อ โดยผสมคัดพันธุ์ให้ได้ลักษณะที่มีครีบและหางยาวขึ้น ความยาวของครีบหางส่วนใหญ่จะยาวเท่ากับ หรือมากกว่าความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน และมีการพัฒนาให้ได้สีใหม่ๆ และสวยงาม โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวไทย ซึ่งได้พัฒนาสายพันธุ์สำเร็จมาช้านาน ก่อนที่ปลากัดจะถูกนำไปเลี้ยงในต่างประเทศ แต่ไม่มีการบันทึกไว้ว่า การพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ปลากัดชนิดนี้เป็นชนิดที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามแพร่หลายไปทั่วโลก และได้มีการนำไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์ที่มีลักษณะใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย ๔. ปลากัดหางสามเหลี่ยม หรือปลากัดเดลตา เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลากัดครีบยาว หรือปลากัดจีน โดยพัฒนาให้หางสั้นเข้าและแผ่กว้างออกไปเป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบครีบหางกางทำมุม ๔๕ - ๖๐ องศา กับโคนหาง และต่อมาได้พัฒนาให้ครีบแผ่ออกไปกว้างมากยิ่งขึ้น เรียก "ซูเปอร์เดลตา" ซึ่งมีหางแผ่กางใหญ่กว่าปกติ จนขอบครีบหางด้านบนและล่างเกือบเป็นเส้นตรง ๕. ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีก หรือปลากัดฮาล์ฟมูนเดลตา เป็นปลากัดที่มีหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบหางจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ได้มีแนวคิดและความพยายาม ในการที่จะพัฒนาปลากัดสายพันธุ์นี้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ในประเทศเยอรมนี แต่เพิ่งประสบผลสำเร็จเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัด ชาวฝรั่งเศสและชาวเยอรมัน ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกมีลักษณะที่สำคัญ คือ ครีบหางแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม โดยขอบครีบด้านหน้าจะแผ่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเป็นมุม ๑๘๐ องศา ครีบด้านนอกเป็นขอบเส้นโค้งของครึ่งวงกลม ก้านครีบหางแตกแขนง ๒ ครั้ง เป็น ๔ แขนง หรือมากกว่า ปลาที่สมบูรณ์จะต้องมีลำตัว และครีบสมส่วนกัน โดยลำตัวต้องไม่เล็กเกินไป ครีบหางแผ่ต่อเนื่องหรือซ้อนทับกับครีบหลังและครีบก้น จนเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน ขอบครีบหลังโค้งมนเป็นส่วนหนึ่งของวงกลม เส้นขอบครีบทุกครีบโค้งรับเป็นเส้นเดียวกัน (ยกเว้นครีบอก) ปลายหางคู่ที่แยกเป็น ๒ แฉก จะต้องซ้อนทับและโค้งมนสวยงาม ปลากัดหางพระจันทร์ครึ่งซีกที่แท้จริงจะต้องมีขอบครีบหางแผ่ทำมุม ๑๘๐ องศา ได้ตลอดไป ถึงแม้ปลาจะมีอายุมากขึ้นก็ตาม ๖. ปลากัดหางมงกุฎ หรือปลากัดคราวน์เทล เป็นปลากัดที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยนักเพาะเลี้ยงปลากัดชาวสิงคโปร์ เป็นปลากัดสายพันธุ์ใหม่ ที่มีหางจักเป็นหนาม เหมือนมงกุฎ และเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบัน ลักษณะสำคัญของปลากัดชนิดนี้คือ ก้านครีบจะโผล่ยาวออกไปจากปลายหาง ลักษณะดูเหมือนหนาม ซึ่งอาจยาวหรือสั้นแตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับลักษณะการแยกของปลายหนาม และการแยกการเว้าโคนหนามก็มีหลายรูปแบบ ปลากัดหางมงกุฎที่สมบูรณ์จะมีครีบหางแผ่เต็ม ซ้อนทับได้แนวกับครีบอื่นๆ และส่วนของหนามมีการจัดเรียงในรูปแบบที่สวยงามสม่ำเสมอ ๗. ปลากัดประเภทอื่นๆ นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีปลากัดประเภทอื่นๆ เช่น "ปลากัดเขมร" ที่ใช้เรียกปลากัดที่มีสีลำตัวเป็นสีอ่อนหรือเผือก และมีครีบสีแดง "ปลากัดหางคู่" ซึ่งครีบหางมีลักษณะเป็น ๒ แฉก อาจแยกกันอย่างเด็ดขาด หรือที่ตรงโคนยังเชื่อมติดกันอยู่ก็ได้ รวมทั้งปลากัด ที่เรียกชื่อ ตามรูปแบบสี เช่น "ปลากัดลายหินอ่อน" และ "ปลากัดลายผีเสื้อ" |
แหล่งที่อยู่ อาศัยของป
ปลากัดเป็รปลาแหล่งที่อยู่ของเมืองไทย แพร่กระจาย อยู่ทั่วประเทศ ลักษณะ
ที่อยู่อาศัยอาคัยอยู่ในแอ่งนำเล็กๆ ทะเลสาบ หน่องบึง ลำคลองในบริเวณ ที่นำตื้นๆ
นำใส่ๆ นำไหล่เอี่ยๆมีพันธ์ไม้ ประปราย ว่ายช้าๆ
ลักษณะที่อยู่ อาศัย
วิธีดูเพศ ปลากัด
Betta fish หรือปลากัด ฝรั่งเขาเรียกกันอีกชื่อว่า "fighting fish" ปกติเวลาขายแต่ละตัวจะแยกโหลกันมา ถ้าดูเผินๆ เวลาเดินผ่านหน้าร้านขาย คุณอาจเหมารวมว่าปลากัดก็หน้าตาท่าทางเหมือนๆ กันหมด แต่จริงๆ แล้วปลากัดตัวเมียกับตัวผู้นั้นต่างกันมากอยู่ จุดต่างเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในรูปร่างหน้าตาและลักษณะนิสัยนี่แหละที่จะบอกได้ว่าปลากัดของคุณเป็นเพศไหน ถ้าคุณคิดจะหาซื้อปลากัดสักคู่เอาไว้เพาะพันธุ์ขึ้นมา ก็สำคัญมากว่าต้องรู้จักแยกแยะเพศของปลากัดให้ได้ซะก่อน+- 1รอจนปลาโต จะได้มีจุดเด่นไว้ให้แยกแยะ.[1] ปลากัดตัวผู้กับตัวเมียนั้นถ้ายังเด็กจะดูเหมือนกันมาก เพราะร่างกายยังไม่เจริญเติบโตพอที่จะแสดงจุดเด่นประจำเพศออกมา ให้คุณอดใจรอก่อนจนปลากัดมีลักษณะของปลาตัวผู้เด่นชัดออกมา หรือก็คือประมาณ 2 เดือนนั่นแหละ
- 2สังเกตจากขนาดตัวและลักษณะครีบ.[2] ปกติปลากัดตัวผู้จะมีครีบ dorsal (ครีบหลัง), ventral (ครีบท้อง) และ caudal (ครีบหาง) ยาวกว่าความสูงของตัวเองประมาณ 2-3 เท่าขึ้นไป โดยครีบหลังกับครีบหางมักจะห้อยตกลงมาเพราะยาวมากนั่นเอง ส่วนตัวเมียมักจะมีครีบสั้นกว่า คือเท่าๆ ความสูงของตัวเองหรือสั้นกว่านั้น โดยที่ครีบท้องจะมีลักษณะเหมือน "หวี"
- ถึงจะสังเกตได้ง่ายว่าตัวเมียครีบจะสั้น แต่ก็ยังต้องพิจารณาลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย ก่อนด่วนตัดสินเพศของปลากัด
- 3สังเกตจากสี.[3] ปลากัดตัวผู้มักสีสว่างสดใสกว่า ส่วนตัวเมียจะสีอ่อนหรือตุ่นกว่า โดยเฉพาะตรงลำตัว เพราะฉะนั้นถ้าเห็นตัวกับครีบเป็นสีฟ้า เขียว แดงสดๆ จัดๆ ก็สันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่าเป็นตัวผู้
- แต่สีก็เปลี่ยนได้เหมือนกันถ้าปลาเครียด รู้ไว้ใช่ว่า ปลากัดตัวเมียเครียดเมื่อไหร่ สีจะสวยสดขึ้นกว่าปกติทันที
- 4สังเกตเม็ดไข่นำ (egg spot).[4] ปลากัดตัวเมียจะมีเม็ดไข่นำเป็นจุดสีขาวเล็กๆ หรือก็คือท่อวางไข่ (ovipositor tube) อยู่ใต้ตัว คล้ายๆ กับมีเม็ดเกลือติดอยู่ ให้คุณลองสังเกตระหว่างขอบครีบท้อง ค่อนไปทางหัวปลา ถ้าเจอจุดนี้ก็เป็นตัวเมียไม่มีพลาด เพราะตัวผู้ไม่มีไข่แน่นอน
- อาจจะหาจุดนี้ยากอยู่สักหน่อย ถ้าปลาตัวเมียยังเล็ก ไม่มีเครื่องเพศชัดเจน แต่พอปลาโตและตัวใหญ่ขึ้น ท่อวางไข่ก็จะใหญ่ตาม ทีนี้ก็หาง่ายแน่นอน
- ถ้าคุณหาจุดนี้เท่าไหร่ก็ไม่เจอ ให้ลองให้อาหาร หรือทำท่าเหมือนจะให้อาหารดู เพราะปลาจะว่ายขึ้นข้างบน โชว์ท้องให้คุณเห็นพอดิบพอดี แบบนี้ก็หาง่ายหน่อย
- 5เปรียบเทียบรูปร่างกัน.[5] ปลากัดตัวผู้กับตัวเมียจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันนิดหน่อย โดยตัวผู้มักจะผอมยาวกว่า ในขณะที่ตัวเมียจะสั้นอวบ แต่ก็ใช่ว่าจะแตกต่างกันแบบเห็นได้ชัด คุณอาจต้องทำความคุ้นเคยกับรูปร่างหน้าตาของปลากัดที่รู้ว่าเป็นตัวผู้แน่ๆ ซะก่อน ถึงจะเริ่มเปรียบเทียบด้วยวิธีนี้ได้ พอเทียบกันแล้วปลากัดตัวเมียจะดูเหมือนตัวผู้ที่อ้วนล่ำหน่อยนั่นเอง
- 6เอากระจกไปวางข้างตู้ปลากัด หรือจะใส่เข้าไปในตู้ก็ได้. ถ้าเป็นปลากัดตัวผู้จะรำแพนครีบใส่ตัวผู้อีกตัว[6] ปลากัดไม่ว่าตัวผู้หรือตัวเมียก็โหดเอาเรื่องด้วยกันทั้งนั้น แต่ตัวผู้มักมีพฤติกรรมก้าวร้าวกว่า ถ้าคุณเอากระจกไปวางข้างตู้หรือในตู้ ปลากัดจะนึกว่าเป็นปลากัดอีกตัว ถ้าเป็นตัวผู้ก็จะแผ่หรือรำแพนครีบ (flare) เพื่อวางก้ามว่าเหนือกว่า หรืออาจจะอาการหนักถึงขั้นพุ่งชนกระจกก็ได้
- บางทีปลากัดตัวเมียก็หวงถิ่น รำแพนหางกับเขาเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยจะรุนแรงเท่าไหร่ ถ้าเป็นตัวผู้จะหมกมุ่นกว่า ปลากัดตัวอื่นแหยมเข้ามานี่ไม่ได้เลย
- ทดสอบแล้วก็รีบเอาออกไป อย่าทิ้งกระจกไว้ในตู้นานๆ ล่ะ เวลาได้เห็นปลากัดตัวผู้ออกท่าออกทางไล่เงาตัวเองอาจจะดูตลกดี แต่รู้เปล่าว่าทำมันเครียดได้ อาจถึงขั้นป่วยเลยนะ ถ้าปล่อยให้ปลากัดตัวผู้เครียดจัดเป็นเวลานาน ระวังครีบจะหดสั้นเอาได้
ปลากัดเพศผู้ ที่มีความสมบูรณ์พร้อมเป็นพ่อพันธุ์ ลูกปลากัดเกาะห้อยติดพรรณไม้น้ำใกล้ๆ หวอด | การเพาะพันธุ์ปลากัดปลากัดเป็นปลาที่ผสมภายนอก และมีการสร้างรังโดยการก่อหวอดที่ประกอบด้วยฟองอากาศ ที่เกิดจากเมือกในปาก ปลากัดจะเจริญพันธุ์พร้อมที่จะผสมพันธุ์วางไข่ได้ตั้งแต่อายุ ๓ เดือนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม พ่อแม่พันธุ์ที่จะใช้ผสมพันธุ์ควรมีอายุตั้งแต่ ๕ - ๖ เดือน ขึ้นไป ปลาเพศผู้ที่สมบูรณ์พร้อมเป็นพ่อพันธุ์ที่ดีควรมีลักษณะแข็งแรง ปราดเปรียว ชอบก่อหวอดสร้างรัง ปลาเพศเมียที่เป็นแม่พันธุ์ควรสมบูรณ์แข็งแรง ปราดเปรียว มีลักษณะท้องอูมเป่ง บริเวณใต้ท้องมีตุ่มสีขาวใกล้รูก้น เห็นได้ชัดเจน ตุ่มสีขาวนี้เรียก ไข่นำ นอกจากลักษณะกว้างๆ ดังกล่าว ผู้เพาะพันธุ์ปลากัดอาจเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีสีสัน หรือลักษณะรูปทรงของครีบแบบต่างๆ เพื่อผสมให้ได้สีสัน และรูปทรงของลูกปลา ตามที่ต้องการ เมื่อคัดปลาพ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว ควรเอามาใส่โหล และวางโหลชิดกัน ให้ปลาพ่อแม่พันธุ์มองเห็นกันตลอดเวลา เพื่อเร่งไข่ให้เกิดการพัฒนาให้เร็วขึ้น วิธีนี้เรียกว่า การเทียบคู่ บริเวณที่ใช้เทียบควรปราศจากสิ่งรบกวน เวลาที่ใช้เทียบอาจประมาณ ๓ - ๑๐ วัน ขึ้นอยู่กับว่าปลาเพศเมียจะมีความสมบูรณ์เพศระดับไหน ซึ่งสังเกตได้จากบริเวณท้อง ที่อูมเป่ง เมื่อตัวเมียท้องอูมเป่งเต็มที่ นำปลาตัวผู้ และตัวเมีย มาใส่รวมกันในภาชนะ ที่เตรียมไว้สำหรับใช้ผสมพันธุ์ ซึ่งอาจเป็นภาชนะขนาดเล็ก เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว ตู้กระจก อ่างซีเมนต์ หรือโอ่งน้ำซึ่งขนาดพื้นที่ไม่ควรกว้างมากนัก เติมน้ำให้สูงจากก้นภาชนะ ๕ - ๑๐ เซนติเมตร ใส่พันธุ์ไม้น้ำที่ล้างสะอาดหรือใบไม้ เพื่อเป็นที่สำหรับก่อหวอดสร้างรังของปลา หากเป็นภาชนะขนาดเล็กที่ขอบไม่สูงมาก อาจต้องมีฝาปิดด้านบน เพื่อป้องกันปลากระโดด และป้องกันศัตรูปลา ประมาณ ๑ - ๒ วันหลังจากนั้น ปลาตัวผู้จะเริ่มก่อหวอดสร้างรังติดกับพันธุ์ไม้น้ำหรือใบไม้ เมื่อสร้างหวอดเสร็จแล้ว ปลาตัวผู้จะแผ่พอง ไล่ต้อนปลาตัวเมียให้ไปอยู่ใต้บริเวณหวอด เมื่อปลาตัวเมียลอยตัวมาใต้ผิวน้ำบริเวณหวอด ปลาตัวผู้จะเข้ารัด โดยงอตัวประกบ รัดด้านล่าง ปลาตัวเมียก็จะปล่อยไข่ออกมา ขณะเดียวกันปลาตัวผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม ไข่จะค่อยๆ จมลงสู่ก้นภาชนะ และปลาตัวผู้จะว่ายตามลงไป ใช้ปากดูดอมไข่ไว้ทีละฟอง จนเต็มปาก จึงว่ายน้ำขึ้นไปพ่นติดไว้ที่หวอด แล้วว่ายขึ้นมาฮุบฟองอากาศ สลับกับการว่ายลงไปเก็บไข่ขึ้นมาพ่นไว้ที่หวอดจนหมด การรัดและวางไข่จะเกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง จนตัวเมียวางไข่หมด แต่ละครั้งอาจทิ้งช่วงห่างกันตั้งแต่ ๑ - ๒ นาที จนถึง ๗ - ๘ นาที ระยะเวลาในการผสมพันธุ์วางไข่อาจใช้เวลาตั้งแต่ ๑ - ๖ ชั่วโมง เมื่อการวางไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะไล่ต้อนตัวเมียให้ออกไปห่างจากรัง และทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง โดยปลาตัวผู้จะคอยเก็บไข่ที่หล่นจากรังกลับไปพ่นไว้ที่หวอด เมื่อสังเกตว่า ปลาตัวเมียวางไข่เสร็จแล้ว ให้ช้อนปลาตัวเมียออก เพื่อป้องกันตัวเมียกินไข่ ที่ผสมแล้ว จากนั้นปล่อยให้ปลาตัวผู้ดูแลไข่ต่อประมาณ ๒ วัน จึงแยกปลาตัวผู้ออก ลูกปลาจะฟักออกเป็นตัวในระยะเวลาประมาณ ๓๖ ชั่วโมง |
วิธีการเลี้ยงปลากัดเบื้องต้น
หากเลี้ยงแบบซื้อมาหรือหามาได้แบบเป็นพ่อพันธ์แม่พันธ์ุก็ให้เลี้ยงแบบแยก ตัวละตู้หรือใส่ขวดโหลขวดแก้วแล้วแต่ หากระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกกั้นระหว่างตู้ไม่ให้ปลากัดเห็นกัน อาหารที่ให้ก็เป็นลูกน้ำ,ไรแดง ใส่พืชน้ำจอกแหนไปในโหลที่เลี้ยง ใส่ใบหูกวางแห้งสักใบหรือสองใบในขวดหรือโหลแก้วที่เลี้ยง เปลี่ยนน้ำเมื่อน้ำเริ่มกลิ่นไม่ดีและเน่าเสีย
เทคนิคและวิธีการเพาะพันธุ์หรือขยายพันธ์ุปลากัด
- คัดเลือกพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุที่จะเพาะ เลือกสายพันธ์ุที่ต้องการ ปลากัดตัวผู้เลือกตัวโตแข็งแรงสีสวยพร้อมที่จะผสมพันธ์ุส่วนปลากัดตัวเมียเลือกตัวที่แข็งแรงพร้อมผสมพันธ์ุท้องเปล่งพร้องวางไข่
- เตรียมอ่างหรือกะละมังเพื่อที่จะใช้ในการเพาะ ใส่น้ำ3ต่อ1ของอ่าง ใส่ใบหูกวางแห้งฉีกลงไป1-2ใบเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำและฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วยใส่เกลือที่ไม่มีสารไอโอดีนลงไป1ช้อน ใส่พืชน้ำสาหร่ายน้ำลงไปในอ่าง เลียนแบบธรรมชาติให้กับปลากัด
- นำขวดน้ำพลาสติกใส่น้ำแล้วใส่ปลากัดตัวเมียลงไปแล้วนำไปวางในอ่างที่เตรียมไว้ ส่วนปลากัดตัวผู้ให้ปล่อยลงในอ่างเลย ปล่อยทิ้งให้ปลากัดเทียบกันและสร้างความคุ้นเคย และก็ให้ปลากัดตัวผู้ได้ก่อหวอดขึ้นมาด้วย
- หาแผ่นพลาสติกมาปิดบ่อหรืออ่างที่เพาะ นำหินหรืออิฐก้อนเล็กมาวางทับไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย ทิ้งช่องอากาศหายใจไว้เล็กน้อย ปิดทิ้งไว้1-2 คืน
- เมื่อทิ้งปลากัดได้เทียบกันสักระยะ แล้วให้มาเปิดดูหากตัวผู้ได้ก่อหวอดขึ้นมาแล้ว ให้ปล่อยปลากัดตัวเมียในขวดที่ล่อปลากัดตัวผู้ไว้แล้วนั้นลงในอ่าง ปล่อยให้เค้าได้ทำการรัดกัน นำแผ่นพลาสติกมาปิดไว้เหมือนเดิม ทิ้งไว้1คืน
- เปิดดูหากเห็นไข่เกาะในหวอดแล้ว และปลากัดตัวผู้เริ่มไล่กัดตัวเมียจนจนมุมแล้ว ให้ตักปลากัดตัวเมียแยกออก ส่วนปลากัดตัวผู้ให้ปล่อยไว้เช่นเดิม เพราะปลากัดตัวผู้มีความสำคัญต่อการเพาะไข่และสำคัญต่อการเลี้ยงลูกปลากัด
การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน
เมื่อปลาโตหรืออายุได้ 7-8 เดือน จะนำปลาขึ้นจากบ่อซีเมนต์ สักประมาณ 6-7 ตัว มาเลี้ยงในขวดโหลหมักใบตองแห้ง โดยใช้ใบตองของกล้วยน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกล็ดของปลาแข็งมากขึ้น ซึ่งเขาจะหมักปลาไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีกใบหนึ่ง โดยเลี้ยงน้ำสะอาด และไม่ต้องใส่วัชพืชลงไป ยกเว้นช่วงกลางคืนเขาจะหาต้นอะเมซอน หรือพรรณไม้น้ำขนาดเล็ก ๆ ใส่ลงในขวด เพื่อให้ปลากัดได้นอนพัก
"หลังจากเราหมักปลาได้ 7 วันแล้ว และจะเลี้ยงต่อไปอีกสัก 7-8 วัน ก่อนนำไปกัดเพื่อการแข่งขัน ซึ่งทุก ๆ วัน ช่วงเช้า นำปลาจากขวดโหล มาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เราเรียกว่า โหลพาน ภายในถุงจะมีปลาตัวเมีย 1 ตัว เมื่อเราปล่อยปลาลงไป ปลาตัวเมียจะไล่ปลาตัวผู้ ทำให้ปลาได้ออกกำลังกาย โดยปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกใบหนึ่ง มีปลาตัวเมียอาศัยอยู่ 5 ตัว ซึ่งเราเรียกกันว่า โหลไล่ ปลาตัวผู้ก็จะเป็นฝ่ายไล่กัดปลาตัวเมียทั้ง 5 ตัว เพราะปกป้องตัวเอง เข้าใจว่า หากไม่ไล่กัด ปลาตัวเมียก็รุมกัด จำเป็นต้องต่อสู้ และไล่กัดตัวเมียทุกตัว ผมจะปล่อยทิ้งสัก 20 นาที ก็ช้อนหรือจับขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลใบเดิม และในช่วงเย็นจะหาลูกน้ำมาให้ปลากินเป็นอาหารวันละ 7 ตัว"
ก่อนนำไปแข่งขันเราจะพักปลาไว้ 1 วัน โดยไม่ให้อาหารและหยุดกิจกรรมออกกำลังกาย ยกเว้นให้ตัวเมียไล่หรือใส่ในโหลพาน 10 นาที เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"วิธีเลี้ยงปลากัด และวิธีการผสมพันธุ์ปลากัด พ่อตาสอนให้ผมทั้งนั้น และเมื่อนำปลาไปกัดเพื่อแข่งขันกัน ส่วนใหญ่ปลาของผมจะชนะคู่ต่อสู้ เมื่อปลาเราชนะ นักเลงปลากัดก็เข้ามาขอซื้อถึงบ้านเลย" คุณกิมไล้ ไม่ชอบกัดปลา เหตุที่เข้าบ่อนกัดปลา ก็เพื่อให้คนในวงการปลากัดได้รับทราบว่า มีปลาเก่ง ซึ่งส่งผลดีด้านการตลาดในเวลาต่อมา
เตรียมปลาก่อนเข้าแข่งขัน
หลังจากเขาคัดเลือกปลากัดได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำปลามาหมักน้ำใบหูกวาง โดยใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่รูปร่างอ้วนต้องใช้เวลา 15 วัน หรือหมักจนกว่าเกล็ดของปลาเรียบและแววมัน
เขาบอกว่า ใบหูกวางที่นำมาใช้นั้นต้องตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาแช่น้ำ จากนั้นนำน้ำดังกล่าวมาเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้หนังของปลาแข็งและเหนียว
ในช่วงหมักนี้เขาจะให้ปลากินลูกน้ำวันละ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่มีรูปร่างอ้วนให้กินอาหาร 3 วัน ต่อครั้ง เพราะว่าให้อาหารมาก ปลาจะอ้วน เมื่อนำไปแข่งขันเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้
"หลังจากหมักปลาจนเกล็ดหรือรูปร่างดีแล้ว ก็นำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีก พร้อมกับใส่น้ำหมักใบหูกวางลงไปผสมเล็กน้อย หรือให้สีน้ำออกเหลืองนิด ๆ พร้อมกับใส่ปลาตัวเมียลงไปด้วย เพื่อต้องการให้ปลากัดตัวผู้คึก เมื่อเห็นว่าจะกัดปลาตัวเมีย ก็ให้ช้อนปลาตัวเมียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ก็ช้อนขึ้นแล้ว"
เขาจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปให้ปลาตัวผู้ไล่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ดำ เล่าว่า ช่วงเช้าหลังจากจับปลาตัวเมียขึ้นแล้ว จะนำปลาตัวผู้ไปปล่อยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงไล่ โดยปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ไล่กัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดี
เขาปล่อยให้ปลาตัวผู้ออกกำลังกาย ประมาณ 10 นาที จากนั้นช้อนปลาขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลเหมือนเดิม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษคลุมขวดอย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อให้ปลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และป้องกันไม่ให้แมลงหรือมดมาเกาะที่บริเวณขวด ไม่เช่นนั้นปากของปลาบาดเจ็บได้ ด้วยการว่ายน้ำชนขวด เพื่องับเหยื่อ
ช่วงเย็นหลังจากปล่อยปลาตัวเมียและช้อนขึ้นแล้ว ก็ให้อาหารปลา โดยใส่ลูกน้ำลงในขวดประมาณ 7-10 ตัว
เขาจะเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว ประมาณ 7 วัน
"เราเลี้ยง 7 วัน โดยให้ออกกำลังกายทุกวัน ให้อาหารกินพอประมาณ และพักผ่อนเต็มที่ ปลาก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมแข่งขัน"
"อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปกัด ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ประมาณ 2-3 วัน โดยหยุดกิจกรรมออกกำลังกายและอื่น ๆ ออกไป ยกเว้นอาหารยังจำเป็นต้องให้กิน แต่ต้องควบคุมปริมาณคือ หลังจากหยุดออกกำลังเย็นวันแรกให้กินลูกน้ำเต็มที่หรือประมาณ 10 ตัว เย็นวันที่สอง ลดลงเหลือประมาณ 5-6 ตัว เช้าวันที่สาม นำไปแข่งขันได้เลย" ดำ กล่าว
เขาบอกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปประลองหรือแข่งขันเราจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปเพื่อให้ปลาตัวผู้ไล่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายหมดแล้ว เราก็ช้อนปลากัดขึ้นมาใส่ในขวดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ขวดขาวกลม (ขวดน้ำปลา) แทนขวดโหลเดิม ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะว่ามีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่า"
"เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ เราก็เปลี่ยนถ่ายน้ำส่วนหนึ่งด้วย โดยคงสภาพน้ำเก่าไว้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เติมน้ำใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์"
ก่อนออกเดินทางเขาจะใช้กระดาษห่อหุ้มอย่างมิดชิด เพื่อให้ปลาพักผ่อนเต็มที่ระหว่างเดินทาง
หลังจากเขาคัดเลือกปลากัดได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำปลามาหมักน้ำใบหูกวาง โดยใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่รูปร่างอ้วนต้องใช้เวลา 15 วัน หรือหมักจนกว่าเกล็ดของปลาเรียบและแววมัน
เขาบอกว่า ใบหูกวางที่นำมาใช้นั้นต้องตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาแช่น้ำ จากนั้นนำน้ำดังกล่าวมาเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้หนังของปลาแข็งและเหนียว
ในช่วงหมักนี้เขาจะให้ปลากินลูกน้ำวันละ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่มีรูปร่างอ้วนให้กินอาหาร 3 วัน ต่อครั้ง เพราะว่าให้อาหารมาก ปลาจะอ้วน เมื่อนำไปแข่งขันเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้
"หลังจากหมักปลาจนเกล็ดหรือรูปร่างดีแล้ว ก็นำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีก พร้อมกับใส่น้ำหมักใบหูกวางลงไปผสมเล็กน้อย หรือให้สีน้ำออกเหลืองนิด ๆ พร้อมกับใส่ปลาตัวเมียลงไปด้วย เพื่อต้องการให้ปลากัดตัวผู้คึก เมื่อเห็นว่าจะกัดปลาตัวเมีย ก็ให้ช้อนปลาตัวเมียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ก็ช้อนขึ้นแล้ว"
เขาจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปให้ปลาตัวผู้ไล่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ดำ เล่าว่า ช่วงเช้าหลังจากจับปลาตัวเมียขึ้นแล้ว จะนำปลาตัวผู้ไปปล่อยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงไล่ โดยปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ไล่กัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดี
เขาปล่อยให้ปลาตัวผู้ออกกำลังกาย ประมาณ 10 นาที จากนั้นช้อนปลาขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลเหมือนเดิม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษคลุมขวดอย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อให้ปลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และป้องกันไม่ให้แมลงหรือมดมาเกาะที่บริเวณขวด ไม่เช่นนั้นปากของปลาบาดเจ็บได้ ด้วยการว่ายน้ำชนขวด เพื่องับเหยื่อ
ช่วงเย็นหลังจากปล่อยปลาตัวเมียและช้อนขึ้นแล้ว ก็ให้อาหารปลา โดยใส่ลูกน้ำลงในขวดประมาณ 7-10 ตัว
เขาจะเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว ประมาณ 7 วัน
"เราเลี้ยง 7 วัน โดยให้ออกกำลังกายทุกวัน ให้อาหารกินพอประมาณ และพักผ่อนเต็มที่ ปลาก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมแข่งขัน"
"อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปกัด ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ประมาณ 2-3 วัน โดยหยุดกิจกรรมออกกำลังกายและอื่น ๆ ออกไป ยกเว้นอาหารยังจำเป็นต้องให้กิน แต่ต้องควบคุมปริมาณคือ หลังจากหยุดออกกำลังเย็นวันแรกให้กินลูกน้ำเต็มที่หรือประมาณ 10 ตัว เย็นวันที่สอง ลดลงเหลือประมาณ 5-6 ตัว เช้าวันที่สาม นำไปแข่งขันได้เลย" ดำ กล่าว
เขาบอกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปประลองหรือแข่งขันเราจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปเพื่อให้ปลาตัวผู้ไล่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายหมดแล้ว เราก็ช้อนปลากัดขึ้นมาใส่ในขวดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ขวดขาวกลม (ขวดน้ำปลา) แทนขวดโหลเดิม ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะว่ามีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่า"
"เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ เราก็เปลี่ยนถ่ายน้ำส่วนหนึ่งด้วย โดยคงสภาพน้ำเก่าไว้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เติมน้ำใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์"
ก่อนออกเดินทางเขาจะใช้กระดาษห่อหุ้มอย่างมิดชิด เพื่อให้ปลาพักผ่อนเต็มที่ระหว่างเดินทาง
⇑⇑⇑
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น