วิธีการเลี้ยงปปลากัดเบื้องต้น

วิธีการเลี้ยงปลากัดเบื้องต้น

หากเลี้ยงแบบซื้อมาหรือหามาได้แบบเป็นพ่อพันธ์แม่พันธ์ุก็ให้เลี้ยงแบบแยก ตัวละตู้หรือใส่ขวดโหลขวดแก้วแล้วแต่ หากระดาษแข็งหรือแผ่นพลาสติกกั้นระหว่างตู้ไม่ให้ปลากัดเห็นกัน อาหารที่ให้ก็เป็นลูกน้ำ,ไรแดง ใส่พืชน้ำจอกแหนไปในโหลที่เลี้ยง ใส่ใบหูกวางแห้งสักใบหรือสองใบในขวดหรือโหลแก้วที่เลี้ยง เปลี่ยนน้ำเมื่อน้ำเริ่มกลิ่นไม่ดีและเน่าเสีย

วิธีเพาะเลี้ยงปลากัดไทย,ปลากัดแฟนตาซี

เทคนิคและวิธีการเพาะพันธุ์หรือขยายพันธ์ุปลากัด

  • คัดเลือกพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุที่จะเพาะ เลือกสายพันธ์ุที่ต้องการ ปลากัดตัวผู้เลือกตัวโตแข็งแรงสีสวยพร้อมที่จะผสมพันธ์ุส่วนปลากัดตัวเมียเลือกตัวที่แข็งแรงพร้อมผสมพันธ์ุท้องเปล่งพร้องวางไข่
  • เตรียมอ่างหรือกะละมังเพื่อที่จะใช้ในการเพาะ ใส่น้ำ3ต่อ1ของอ่าง ใส่ใบหูกวางแห้งฉีกลงไป1-2ใบเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของน้ำและฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วยใส่เกลือที่ไม่มีสารไอโอดีนลงไป1ช้อน ใส่พืชน้ำสาหร่ายน้ำลงไปในอ่าง เลียนแบบธรรมชาติให้กับปลากัด
  • นำขวดน้ำพลาสติกใส่น้ำแล้วใส่ปลากัดตัวเมียลงไปแล้วนำไปวางในอ่างที่เตรียมไว้ ส่วนปลากัดตัวผู้ให้ปล่อยลงในอ่างเลย ปล่อยทิ้งให้ปลากัดเทียบกันและสร้างความคุ้นเคย และก็ให้ปลากัดตัวผู้ได้ก่อหวอดขึ้นมาด้วย 
  • หาแผ่นพลาสติกมาปิดบ่อหรืออ่างที่เพาะ นำหินหรืออิฐก้อนเล็กมาวางทับไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัย ทิ้งช่องอากาศหายใจไว้เล็กน้อย ปิดทิ้งไว้1-2 คืน
  • เมื่อทิ้งปลากัดได้เทียบกันสักระยะ แล้วให้มาเปิดดูหากตัวผู้ได้ก่อหวอดขึ้นมาแล้ว ให้ปล่อยปลากัดตัวเมียในขวดที่ล่อปลากัดตัวผู้ไว้แล้วนั้นลงในอ่าง ปล่อยให้เค้าได้ทำการรัดกัน นำแผ่นพลาสติกมาปิดไว้เหมือนเดิม ทิ้งไว้1คืน
  • เปิดดูหากเห็นไข่เกาะในหวอดแล้ว และปลากัดตัวผู้เริ่มไล่กัดตัวเมียจนจนมุมแล้ว ให้ตักปลากัดตัวเมียแยกออก ส่วนปลากัดตัวผู้ให้ปล่อยไว้เช่นเดิม เพราะปลากัดตัวผู้มีความสำคัญต่อการเพาะไข่และสำคัญต่อการเลี้ยงลูกปลากัด
วิธีเพาะพันธ์ุปลากัดไทย,ปลากัดแฟนตาซี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติปลากัดไทย