การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน

การเลี้ยงปลากัดเพื่อการแข่งขัน

เมื่อปลาโตหรืออายุได้ 7-8 เดือน จะนำปลาขึ้นจากบ่อซีเมนต์ สักประมาณ 6-7 ตัว มาเลี้ยงในขวดโหลหมักใบตองแห้ง โดยใช้ใบตองของกล้วยน้ำ ทั้งนี้เพื่อให้เกล็ดของปลาแข็งมากขึ้น ซึ่งเขาจะหมักปลาไว้ประมาณ 7 วัน จากนั้นนำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีกใบหนึ่ง โดยเลี้ยงน้ำสะอาด และไม่ต้องใส่วัชพืชลงไป ยกเว้นช่วงกลางคืนเขาจะหาต้นอะเมซอน หรือพรรณไม้น้ำขนาดเล็ก ๆ ใส่ลงในขวด เพื่อให้ปลากัดได้นอนพัก
"หลังจากเราหมักปลาได้ 7 วันแล้ว และจะเลี้ยงต่อไปอีกสัก 7-8 วัน ก่อนนำไปกัดเพื่อการแข่งขัน ซึ่งทุก ๆ วัน ช่วงเช้า นำปลาจากขวดโหล มาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เราเรียกว่า โหลพาน ภายในถุงจะมีปลาตัวเมีย 1 ตัว เมื่อเราปล่อยปลาลงไป ปลาตัวเมียจะไล่ปลาตัวผู้ ทำให้ปลาได้ออกกำลังกาย โดยปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นนำมาใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกใบหนึ่ง มีปลาตัวเมียอาศัยอยู่ 5 ตัว ซึ่งเราเรียกกันว่า โหลไล่ ปลาตัวผู้ก็จะเป็นฝ่ายไล่กัดปลาตัวเมียทั้ง 5 ตัว เพราะปกป้องตัวเอง เข้าใจว่า หากไม่ไล่กัด ปลาตัวเมียก็รุมกัด จำเป็นต้องต่อสู้ และไล่กัดตัวเมียทุกตัว ผมจะปล่อยทิ้งสัก 20 นาที ก็ช้อนหรือจับขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลใบเดิม และในช่วงเย็นจะหาลูกน้ำมาให้ปลากินเป็นอาหารวันละ 7 ตัว"
ก่อนนำไปแข่งขันเราจะพักปลาไว้ 1 วัน โดยไม่ให้อาหารและหยุดกิจกรรมออกกำลังกาย ยกเว้นให้ตัวเมียไล่หรือใส่ในโหลพาน 10 นาที เท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"วิธีเลี้ยงปลากัด และวิธีการผสมพันธุ์ปลากัด พ่อตาสอนให้ผมทั้งนั้น และเมื่อนำปลาไปกัดเพื่อแข่งขันกัน ส่วนใหญ่ปลาของผมจะชนะคู่ต่อสู้ เมื่อปลาเราชนะ นักเลงปลากัดก็เข้ามาขอซื้อถึงบ้านเลย" คุณกิมไล้ ไม่ชอบกัดปลา เหตุที่เข้าบ่อนกัดปลา ก็เพื่อให้คนในวงการปลากัดได้รับทราบว่า มีปลาเก่ง ซึ่งส่งผลดีด้านการตลาดในเวลาต่อมา


Image result for รูปลากัดการแข่งขันล


เตรียมปลาก่อนเข้าแข่งขัน
หลังจากเขาคัดเลือกปลากัดได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็นำปลามาหมักน้ำใบหูกวาง โดยใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 7 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่รูปร่างอ้วนต้องใช้เวลา 15 วัน หรือหมักจนกว่าเกล็ดของปลาเรียบและแววมัน
เขาบอกว่า ใบหูกวางที่นำมาใช้นั้นต้องตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำมาแช่น้ำ จากนั้นนำน้ำดังกล่าวมาเลี้ยงปลา ซึ่งทำให้หนังของปลาแข็งและเหนียว
ในช่วงหมักนี้เขาจะให้ปลากินลูกน้ำวันละ 2-3 วัน แต่ถ้าเป็นปลาที่มีรูปร่างอ้วนให้กินอาหาร 3 วัน ต่อครั้ง เพราะว่าให้อาหารมาก ปลาจะอ้วน เมื่อนำไปแข่งขันเสียเปรียบคู่ต่อสู้ได้
"หลังจากหมักปลาจนเกล็ดหรือรูปร่างดีแล้ว ก็นำมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลอีก พร้อมกับใส่น้ำหมักใบหูกวางลงไปผสมเล็กน้อย หรือให้สีน้ำออกเหลืองนิด ๆ พร้อมกับใส่ปลาตัวเมียลงไปด้วย เพื่อต้องการให้ปลากัดตัวผู้คึก เมื่อเห็นว่าจะกัดปลาตัวเมีย ก็ให้ช้อนปลาตัวเมียขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที ก็ช้อนขึ้นแล้ว"
เขาจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปให้ปลาตัวผู้ไล่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
ดำ เล่าว่า ช่วงเช้าหลังจากจับปลาตัวเมียขึ้นแล้ว จะนำปลาตัวผู้ไปปล่อยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงไล่ โดยปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว ลงไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ปลากัดตัวผู้ไล่กัด ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลดี
เขาปล่อยให้ปลาตัวผู้ออกกำลังกาย ประมาณ 10 นาที จากนั้นช้อนปลาขึ้นมาเลี้ยงไว้ในขวดโหลเหมือนเดิม โดยใช้ผ้าหรือกระดาษคลุมขวดอย่างมิดชิด ทั้งนี้เพื่อให้ปลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ และป้องกันไม่ให้แมลงหรือมดมาเกาะที่บริเวณขวด ไม่เช่นนั้นปากของปลาบาดเจ็บได้ ด้วยการว่ายน้ำชนขวด เพื่องับเหยื่อ
ช่วงเย็นหลังจากปล่อยปลาตัวเมียและช้อนขึ้นแล้ว ก็ให้อาหารปลา โดยใส่ลูกน้ำลงในขวดประมาณ 7-10 ตัว
เขาจะเลี้ยงปลาในลักษณะดังกล่าว ประมาณ 7 วัน
"เราเลี้ยง 7 วัน โดยให้ออกกำลังกายทุกวัน ให้อาหารกินพอประมาณ และพักผ่อนเต็มที่ ปลาก็จะแข็งแรงสมบูรณ์ พร้อมแข่งขัน"
"อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปกัด ต้องพักผ่อนให้เต็มที่ ประมาณ 2-3 วัน โดยหยุดกิจกรรมออกกำลังกายและอื่น ๆ ออกไป ยกเว้นอาหารยังจำเป็นต้องให้กิน แต่ต้องควบคุมปริมาณคือ หลังจากหยุดออกกำลังเย็นวันแรกให้กินลูกน้ำเต็มที่หรือประมาณ 10 ตัว เย็นวันที่สอง ลดลงเหลือประมาณ 5-6 ตัว เช้าวันที่สาม นำไปแข่งขันได้เลย" ดำ กล่าว
เขาบอกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนนำปลาไปประลองหรือแข่งขันเราจะปล่อยปลาตัวเมียลงไปเพื่อให้ปลาตัวผู้ไล่ ประมาณ 1-2 นาที เพื่อออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้ปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
"เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายหมดแล้ว เราก็ช้อนปลากัดขึ้นมาใส่ในขวดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ขวดขาวกลม (ขวดน้ำปลา) แทนขวดโหลเดิม ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการเดินทาง เพราะว่ามีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่า"
"เมื่อเปลี่ยนขวดใหม่ เราก็เปลี่ยนถ่ายน้ำส่วนหนึ่งด้วย โดยคงสภาพน้ำเก่าไว้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เติมน้ำใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์"
ก่อนออกเดินทางเขาจะใช้กระดาษห่อหุ้มอย่างมิดชิด เพื่อให้ปลาพักผ่อนเต็มที่ระหว่างเดินทาง


Related image

⇑⇑⇑

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติปลากัดไทย